พระราชกรณียกิจในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ 6 แห่งของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
1 min read
1.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินมาเปิดศาลพระบรม ราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ณ ที่นั้น ราษฎร 7 ราย ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน บริเวณหมู่ 2 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 264 ไร่ เพื่อต้องการให้สร้างพระตำหนัก ด้วยเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปที่ไหนก็พยายามที่จะพัฒนาทำให้ที่ดินเจริญขึ้น เนื่องจากผืนดินเสื่อมโทรมไม่สามารถทำการเกษตรได้ดังพระราชดำรัส
“ประวัติมีว่า ตอนแรกมีที่ดิน 264 ไร่ ที่ผู้ใหญ่บ้านให้เพื่อสร้างตำหนัก ในปี 2522 ที่เชิงเขาหินซ้อนใกล้วัดเขาหินซ้อนตอนแรก
ก็ต้องค้นคว้าว่าที่ตรงนั้นคือตรงไหน ก็พยายามสืบถามก็ได้พบบนแผนที่พอดี อยู่มุมบนของระวางของแผนที่ จึงต้องต่อ
แผนที่ 4 ระวาง สำหรับให้ได้ทราบว่าสถานที่ตรงนั้นอยู่ตรงไหน ก็เลยถามผู้ที่ให้ที่นั้นนะ ถ้าหากไม่สร้างตำหนัก แต่ว่าสร้างเป็นสถานที่ที่จะศึกษาเกี่ยวกับ การเกษตรจะเอาไหม เขาก็บอกยินดี ก็เคยเริ่มทำในที่นั้น…”
การดำเนินงานของศูนย์ฯ เขาหินซ้อนฯ ได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมการศึกษา ทดลอง วิจัย และการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ดินทรายจัดเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีรูปแบบการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว โดยให้บริการแก่ประชาชนและเกษตรกรที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ ณ ที่แห่งเดียวในทุกสาขาวิชาชีพ เสมือน ”พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในด้านการเกษตรกรรม และการพัฒนาอาชีพ เพื่อเป็นต้นแบบ และแนวทางให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติในพื้นที่ต่อไป โดยเฉพาะหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 15 หมู่บ้าน เนื้อที่ 113,214 ไร่
พื้นที่ดำเนินการ
1. พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่ ประมาณ 1,250 ไร่
2. โครงการส่วนพระองค์เขาหินซ้อนฯ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่ 655 ไร่
3. หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ พื้นที่ลุ่มน้ำโจน จำนวน 15 หมู่บ้านในเขตตำบลเขาหินซ้อน และตำบลเกาะขนุน
มีเนื้อที่ประมาณ 113,214ไร่
4. พื้นที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวาย บริเวณตำบลบ้านซ่องและตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสาร คาม มีเนื้อที่ 33 ไร่
5. โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณเขาชะโงก จังหวัดนครนายก มีเนื้อที่ประมาณ 23,157 ไร่
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาศูนย์ฯ ได้ปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติพื้นฐาน เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประกอบการเกษตรได้อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ กล่าวคือได้จัดสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง สร้างสภาพป่าและไม้ยืนต้นในบริเวณโครงการและพื้นที่ข้างเคียงเป็นการปรับสภาพแวดล้อมและเพิ่มความชุ่มชื้นให้มากขึ้น สร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินซึ่งปัจจุบันพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริให้ใช้หญ้าแฝกในการดำเนินการดังกล่าว และปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นหลังจากนั้นได้ศึกษาหาเทคโนโลยีพัฒนาการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ โดยเน้นวิธีการผสมผสานเป็นการรักษาสมดุลธรรมชาติและประหยัด เพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรเข้าศึกษาหาความรู้ นำไปปรับใช้กับพื้นที่ของตนเองได้ ตลอดจนใช้เป็น สถานที่ฝึกอบรมศึกษาดูงานของผู้สนใจทั่วไป จากนั้นได้ขยายผลออกสู่หมู่บ้านบริเวณรอบศูนย์ ให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
โดยแบ่งออกเป็นดังนี้
- เกษตรกร และผู้สนใจ เข้าเยี่ยมชมแปลงสาธิตการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านการเกษตร การพัฒนาและอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมในครัวเรือน ในลักษณะแหล่งเรียนรู้และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อนำ ไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตให้เกิดการพึ่งตนเองได้ - เกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ บริเวณลุ่มน้ำโจนมีน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภคและเพื่อการเกษตร รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
- นำผลการศึกษา ทดลอง วิจัยทางการเกษตรและการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ทางกายภาพและสังคมมาเผยแพร่ ขยายผล
- รวบรวมและพัฒนาขยายพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ให้เกษตรกรและประชาชนผู้สนใจได้ศึกษา เรียนรู้
2.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี
แต่เดิมสภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก แต่ภายหลังได้มีราษฎรเข้ามาบุกรุกแผ้วถางป่า ทำลายป่า ทำการเกษตรอย่างผิดวิธี และใช้สารเคมีที่ส่งผลเสียต่อดินและน้ำ ขาดการบำรุงรักษาคุณภาพดิน ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเปลี่ยนแปรสภาพไปอย่างรวดเร็ว หน้าดินถูกชะล้างความอุดมสมบูรณ์ไปหมดสิ้น ดินกลายเป็นดินทรายและดินดานที่ไม่มีแร่ธาตุ ความสมดุลทางธรรมชาติถูกทำลายโดยสิ้นเชิง เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงความแห้งแล้งของพื้นที่แผ่ขยายเป็นวงกว้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ความตอนหนึ่งว่า
“…ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี: เดิมเป็น ป่าโปร่ง คนไปตัดไม้สำหรับเป็นฟืนและสำหรับเผาถ่าน ต่อจากนั้น มีการปลูกพืชไร่และสับปะรดจนดินจืดกลายเป็นทราย ถูกลมและน้ำชะล้างไปหมด จนเหลือแต่ดินดาน ซึ่งเป็นดินที่แข็งตัวเมื่อถูกอากาศ ดินนี้ก็ไม่มีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์…”
ด้วยเหตุนี้ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริให้พัฒนาพื้นที่ เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนา
เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมด้วยการปลูกป่า และจัดหาแหล่งน้ำโดยจัดให้ราษฎรที่ทำกินเดิมได้มีส่วนร่วมในการรักษาป่าไม้และ
ได้ประโยชน์จากป่าไม้ควบคู่ไปกับการพัฒนาเกษตรกรรมที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาอาชีพ
พื้นที่ดำเนินการ
1. พื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตามประกาศพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
พ.ศ. 2467 จำนวน 22,600 ไร่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ได้รับมอบสิทธิครอบครองและทำประโยชน์จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตามแนวพระราชดำริ เพื่อใช้เป็นพื้นที่หลักในการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ และทำการศึกษาทดลองตามแนวพระราชดำริ มีบริเวณตั้งแต่แนวเขตด้านทิศตะวันตกจนถึงแนวสายไฟฟ้าแรงสูง จำนวน 8,700ไร่
2. พื้นที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพื้นที่ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ได้รับมอบอำนาจให้ดูแลและใช้ประโยชน์ตามพระราชประสงค์ จำนวน 340ไร่
3. หมู่บ้านเป้าหมายในการขยายผล และถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 4ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลสามพระยา ตำบลห้วยทรายเหนือ ตำบลชะอำ และตำบลไร่ใหม่พัฒนา
การดำเนินการภายในศูนย์
เพื่อให้การดำเนินงานสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ บรรลุผลเป็นรูปธรรม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จึงได้พิจารณากำหนดงานเป็น 5 แผนงานดังนี้
แผนงานอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราชดำริ
งานอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศน์
1. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
2. โครงการฟื้นฟูสภาพป่าไม้อนุรักษ์และป่าไม้เศรษฐกิจ
3. โครงการปรับเปลี่ยนพันธุ์ไม้ในแปลงป่าปลูกเดิม
4. โครงการเพาะกล้าไม้
5. โครงการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า
6. โครงการจัดการควบคุมไฟป่า
7. โครงการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน
9. โครงการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งน้ำ เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูระบบนิเวศน์
งานอนุรักษ์ดินและน้ำ
1. โครงการฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดินและอนุรักษ์ดินและน้ำ
แผนงานศึกษาและพัฒนาตามแนวพระราชดำริ
งานศึกษาและพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
1. โครงการศึกษาการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์เพื่อการอนุรักษ์
2. โครงการศึกษาทดลองการใช้พลังงานธรรมชาติ
3. โครงการศึกษาการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
4. โครงการศึกษาและสำรวจทรัพยากรป่าไม้
งานศึกษาและพัฒนาด้านความเป็นอยู่พื้นฐานและการประกอบอาชีพ
1. โครงการศึกษาทดลองการใช้ประโยชน์จากต้นมะม่วงหิมพานต์
2. โครงการศึกษาทดลองการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เพื่อส่งเสริมอาชีพ
3. โครงการศึกษาทดลองรูปแบบการเกษตรแบบยั่งยืน
4. โครงการศึกษาทดลองด้านพืชเพื่อส่งเสริมอาชีพ
แผนงานขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีตามแนวพระราชดำริ
งานขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสภาพแวดล้อม
1. โครงการขยายผลการใช้ประโยชน์หญ้าแฝก
2. โครงการถ่ายทอดข้อมูลดินและการใช้ที่ดิน
งานขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านความเป็นอยู่พื้นฐาน และการประกอบอาชีพ
1. โครงการถ่ายทอดและขยายผลเทคโนโลยีการเกษตร
แผนงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
ด้านเศรษฐกิจ
1. โครงการส่งเสริมเกษตรกรเพาะชำกล้าไม้หายาก
2. โครงการพัฒนาส่งเสริมการเลี้ยงโคนม
3. โครงการส่งเสริมอาชีพการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ
4. โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือน
5. โครงการส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร
6. โครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ
ด้านสังคม
1. โครงการพัฒนาเยาวชนและสตรี
2. โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน
3. โครงการสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
4. โครงการพัฒนาสุขภาพอนามัย
5. โครงการด้านการศึกษา
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1. โครงการจัดหาน้ำและบริการจัดการน้ำ
2. โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
แผนงานบริหารโครงการ
งานอำนวยการ
1. โครงการบริหารจัดการ
2. โครงการจัดการและจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน
3. โครงการสำรวจข้อมูลดินและวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน
4. โครงการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทที่ดินและรับรองการใช้ประโยชน์ที่ดิน
5. โครงการรักษาความปลอดภัย
งานประชาสัมพันธ์
1. โครงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
2. โครงการพัฒนาและจัดการแหล่งท่องเที่ยว
จากการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นับเป็นรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสื่อมโทรมที่ประสบผลสำเร็จ อันเป็นแบบอย่างที่ดีในการนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อการพัฒนา
ในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีปัญหาในลักษณะใกล้เคียงกัน จากสภาพความอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ ดิน น้ำ ป่าไม้
และสัตว์ป่า เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา ได้ถูกทำลายเปลี่ยนแปลงกลายเป็นไร่สับปะรด พื้นดินเสียหายเสื่อมโทรม ไม่สามารถเพาะปลูกพืชใดๆ ได้ ณ บัดนี้ ผืนดินที่เคยแห้งแล้งดังกล่าว ได้พลิกฟื้นกลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์เช่นเดิมอีกครั้ง ทั้งป่าเขาต้นน้ำลำธาร สัตว์ป่า
โดยเฉพาะเนื้อทราย แม้แต่ราษฎรที่ได้อาศัยอยู่ใน ผืนแผ่นดินนี้ ก็ได้รับการพัฒนาจนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความอยู่ดีมีสุข ในวิถีชีวิตตามอัตภาพของตนเอง
3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เริ่มก่อตั้งตามพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุเสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2524 โดยมีพระราชดำริแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี “ให้พิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสม
จัดทำโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมง และการเกษตรในเขตพื้นที่ดินชายฝั่งทะเลจันทบุรี” และได้พระราชทานเงินที่ราษฎรจังหวัดจันทบุรีได้ร่วมทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลในโอกาสดังกล่าว เป็นทุนริเริ่มดำเนินการ ต่อมาเมื่อ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2524พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ณ พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน สาระโดยสรุปว่า “ให้พิจารณาจัดหาพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม หรือพื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา เช่นเดียว
กับ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ให้เป็นศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล”
จังหวัดจันทบุรีได้ร่วมหารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและพิจารณาความเหมาะสม จึงกำหนดพื้นที่ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ศูนย์ศึกษาดังกล่าวเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการศึกษา สาธิตและการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล โดยวิธีการผสมผสานความรู้อันหลากหลายของแต่ละหน่วยงาน เพื่อวางแผนพัฒนาการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสม และยั่งยืนตลอดไป
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2531 ได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ในโอกาสที่ประธานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นำผู้เข้าร่วมสัมมนาและบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานพระบรมราโชบายเกี่ยวกับการดำเนินงานในช่วงต่อไป ณ ศาลาดุสิดาลัย สาระโดยสรุป คุ้งกระเบนเป็นการศึกษาเกี่ยวกับชายทะเล ต้นไม้ต่าง ๆ ชายทะเล และ ปลา การประมง
พื้นที่ดำเนินการ
พื้นที่ดำเนินการและพื้นที่ขยายผลศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ครอบคลุม 33 หมู่บ้าน ในตำบลคลองขุดตำบลรำพัน, ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ และ ตำบลสนามไชย, ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ประมาณ 71,025 ไร่
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. พื้นที่ศูนย์กลาง ได้แก่ บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน และพื้นที่โดยรอบ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ ประมาณ 4,000 ไร่ การดำเนินกิจกรรม
จะเป็นการผสมผสานระหว่างป่าไม้และ ประมง
2. พื้นที่รอบนอกได้แก่พื้นที่ตำบลคลองขุด ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ และตำบลสนามไชย ตำบล กระแจะ อำเภอนายายอาม
ซึ่งเป็นทั้งเขตเกษตรกรรม และเขตหมู่บ้านประมงตลอดแนวชายฝั่ง มีพื้นที่ประมาณ 57,025 ไร่ การดำเนินกิจกรรมมุ่งเน้นการ
ส่งเสริมการเกษตรแบบบูรณาการ
3. พื้นที่ขยายผลได้แก่ พื้นที่ ตำบลรำพัน ตำบลโขมง ตำบลเสม็ดโพธิ์ศรี อำเภอท่าใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียง
ศูนย์ฯ มีพื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ เป็นการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพที่ประสบความสำเร็จ ในศูนย์ฯสู่พื้นที่โดยรอบ
4.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากที่สุดของประเทศ โดยมีพื้นที่ถึง 106.4 ล้านไร่ หรือ 170,218 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 33.1 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ซึ่งประสบกับปัญหาหลักๆ 3 ประการ คือ ปัญหาเกี่ยวกับดิน
เนื่องจากความสมบูรร์ของทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำ แร่ธาตุต่างๆ ดินมีคุณภาพต่ำไม่สามารถอุ้มน้ำได้และมีความเค็ม
ปัญหาด้านแหล่งน้ำและป่าไม้ แหล่งน้ำธรรมชาติมีไม่เพียงพอ ทำให้ดินขาดความชุ่มชื้น ส่งผลต่อการเพาะปลูกพืช
มีการแผ้วถางป่าเพื่อการประกอบอาชีพจนทำให้แหล่งต้นน้ำลำธารและระบบนิเวศวิทยาถูกทำลาย ปัญหาด้านวิทยากร
นอกจากปัญหาปัจจัยการผลิตการเกษตรข้างต้นที่ไม่พร้อมแล้ว ผลจากการขาดความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
โดยเฉพาะเทคนิควิชาการเกษตรที่ถูกต้อง การปรับปรุงบำรุงรักษาคุณภาพของปัจจัยการผลิตอย่างมีหลักวิชา เช่น เรื่องป่าไม้
การใช้ประโยชน์จากที่ดิน การแปรรูปผลผลิตและเรื่องการตลาด
จากสภาพภูมิประเทศ และทรัพยากร ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างไปจากภาคอื่น จึงมีการศึกษาถึงปัญหาสภาพ
ท้องถิ่น หรือวิถีชีวิตของราษฎรเพื่อจัดหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับภาคอีสาน ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงทรงคัดเลือกพื้นที่จัดตั้งศูนย์ฯ ด้วยตนเอง เพื่อเป็นพื้นที่ตัวแทนของภาคอีสานทั้งหมด ด้วยพื้นที่นี้มีลักษณะสภาพธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม และวงจรทางชีวภาพที่คล้ายคลึงกับภูมิภาคโดยทั่วไปของภาคอีสาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ จึงถือกำเนิดขึ้น เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 เพื่อเป็นแบบจำลองของภาคอีสานและเป็นพื้นที่ส่วนย่อที่มี
ความเหมาะสมสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อพัฒนาให้ภูมิภาคนี้เกิดความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
พื้นที่ดำเนินการ
ในการดำเนินงานของศูนย์ฯ ได้มีการขยายผลการศึกษาเผยแพร่สู่ราษฎรในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ รวม 15 หมู่บ้าน
รวมทั้งกระจายการขยายผลของศูนย์ฯ สู่พื้นที่อื่นๆ ของภาคให้เพิ่มมากขึ้น โดยจัดตั้งเป็นศูนย์สาขาขึ้น 3 แห่ง คือ
1.โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ดำเนินการ
ลักษณะการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จทั้งในด้านการเกษตร การอนุรักษ์ป่าไม้ การพัฒนาแหล่งน้ำและศิลปาชีพ
2.โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร-นครพนม ดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝน และการขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร อุปโภคบริโภคในฤดูแล้งให้แก่ราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำ
3.โครงการขุดสระกักเก็บน้ำตามทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้เป็นจุดศึกษา
ทดลอง และสาธิตให้ราษฎรได้เห็นผลการพัฒนาการเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่”
โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จะเป็นแม่ข่ายให้ความช่วยเหลือด้านความรู้ทางวิชาการเทคโนโลยี การฝึกอบรม การสนับสนุนพันธุ์พืชและสัตว์แก่ศูนย์สาขา เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรูปแบบการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับท้องถิ่น เพื่อให้มีความเป็นอยู่อย่างพอมีพอกินและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
5.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่
ในปี พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้และพบว่าพื้นที่ลุ่มน้ำดังกล่าวเป็นป่าเต็งรัง
ที่เสื่อมโทรมมีความลาดชันไม่สูงมากนักไม่มีราษฎรอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ ดังนั้นจึงได้พระราชทานพระราชดำริที่จะใช้ลุ่มน้ำ
ดังกล่าว เป็นลุ่มน้ำสำหรับศึกษา ในการพัฒนารูปแบบต่าง ๆ โดยใช้ระบบน้ำชลประทานเป็นแกนนำ และเนื่องมาจากสภาพป่าเต็งรังที่เสื่อมโทรมนี้เป็นสภาพลุ่มน้ำที่มีอยู่ค่อนข้างมากในพื้นที่ภาคเหนือ หากว่าพื้นที่ลุ่มน้ำชนิดนี้ได้รับการพัฒนาแล้วก็จะทำให้
พื้นที่ต้นน้ำลำธารของภาคเหนือ รวมทั้งความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำชนิดนี้มีสภาพดีขึ้นไปด้วย ดังนั้นสืบเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ นี้ กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อศึกษาการพัฒนาก็ได้เริ่มขึ้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ แห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2525 ให้พิจารณาจัดตั้งขึ้นบริเวณป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ขอบเขตพื้นที่โครงการประมาณ 8,500 ไร่ โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลอง
วิจัย เพื่อหารูปแบบการพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคเหนือ และเผยแพร่แก่ราษฎรให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองต่อไป โดยทำการศึกษาพัฒนาป่าไม้ 3 อย่าง 3 วิธี เพื่อประโยชน์ 4 อย่าง คือมีไม้ใช้สอย ไม้ผล ไม้เชื้อเพลิง ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจน คงความชุ่มชื้นเอาไว้เป็นประโยชน์อย่างที่ 4 และพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ได้ผล อย่างสมบูรณ์เป็นหลัก โดยต้นทางเป็นการศึกษาสภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธาร และปลายทางเป็นการศึกษาด้านการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ผสมกับ การศึกษาด้านการเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์และโคนม และด้านเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษา กิจกรรมต่าง ๆ ภายในศูนย์ฯแล้วนำไปใช้ปฏิบัติอย่างได้ผลต่อไป
พื้นที่ดำเนินการ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีพื้นที่โครงการ ประมาณ 8,500 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน แห่งชาติ
“ป่าขุนแม่กวง” ลักษณะภูมิประเทศ ทั่วไปเป็นป่าเขา ทิศเหนือเป็นป่าไม้เบญจพรรณพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ เป็นป่าที่มีสภาพค่อนข้างเสื่อมโทรมซึ่งใช้เป็นพื้นที่ในการศึกษาพัฒนาเกษตรกรรมด้านต่าง ๆ ซึ่งพื้นที่เป้าหมายในการ ดำเนินงาน และ ศูนย์สาขา
มีดังนี้
1. พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ซึ่งพื้นที่ดำเนินงานและการใช้ประโยชน์ที่ดินในศูนย์ฯ ได้พิจารณาจากแนวพระราชดำริ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
1.1 พื้นที่พัฒนาป่าไม้ด้วยน้ำฝน ประกอบด้วย พื้นที่ตอนบนที่มีความลาดชันมากและไม่สามารถนำระบบชลประทานเข้าไปในพื้นที่ได้ และพื้นที่บางส่วนทางตอนล่างที่รับน้ำจากอ่างเก็บ น้ำที่ 1 เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอใส่ในร่องห้วยบางส่วนของพื้นที่
โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันตกมีการสร้างฝายต้นน้ำเพื่อใช้เป็นพื้นที่ที่พัฒนาป่าไม้ด้วยฝายต้นน้ำลำธารที่รองรับน้ำฝน มีการปลูกป่าเฉพาะในพื้นที่ถูกทำลายหรือความหนาแน่นของป่าน้อยมาก บำรุงป่าไม้โดยการตัดต้นไม้ที่มีลักษณะไม่ดีออก ป้องกันการลักลอบการตัดไม้และขุดหน่อไม้ ตลอดจนจัดระบบป้องกันไฟป่า พื้นที่บางส่วนที่ติดกับอ่างเก็บน้ำที่ 2 ถูกใช้สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เพื่อพัฒนาต้นน้ำรวมพื้นที่ 6,000ไร่
1.2 พื้นที่พัฒนาป่าไม้ด้วยระบบน้ำชลประทาน พื้นที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ที่สามารถนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำที่ 1 มาใช้ในพื้นที่ได้ โดยการปล่อยน้ำผ่านท่อน้ำจากสันเขา ในร่องห้วยมีการสร้างฝายต้นน้ำลำธารเป็นระยะ เพื่อกักเก็บน้ำเป็นช่องเพื่อเพิ่มระดับน้ำผิวดินและใต้ดิน และมีการขุดคลองใส้ไก่ขนาดเล็ก ส่งน้ำออกไปสองข้างของฝายต้นน้ำลำธาร เพิ่มความชื้นให้กระจายออกทั่วพื้นที่ ทำให้ฝายต้นน้ำดังกล่าว มีสภาพเป็นแนวกันไฟเปียกที่ลดความรุนแรงและการลุกลามของไฟ มีการปลูกเสริมป่าและระบบบำรุงและป้องกันรักษาป่า ตลอดจนจัดทำทุ่งหญ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์ป่า ปลูกไม้ที่ให้ผลเป็นอาหารสัตว์ป่า พร้อมทั้ง ปลูกไม้ไผ่ ไม้ผลในร่ม พริกไทย หวาย และมะก่อหลวง(มะคาเดเมีย) ผสมในป่า กล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบการพัฒนาป่าไม้แบบเข้มข้นเพื่อประโยชน์แบบอเนกประสงค์ รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 800 ไร่
1.3 พื้นที่พัฒนาการเกษตรเป็นพื้นที่ตอนกลางของลุ่มน้ำ โดยทดสอบการทำเกษตรแบบอุตสาหกรรมและผสมผสานกับการปลูกป่าในรูปวนเกษตร ตลอดจนหารูปแบบการเพาะปลูกที่เหมาะสมกับสังคมชนบทในภาคเหนือตอนบนและอนุรักษ์ดินและน้ำ ประกอบด้วย การทดสอบปลูกข้าวและพืชไร่อื่นๆ ไม้ผล สมุนไพร พืชผักพื้นบ้าน ไม้ดอกไม้ประดับ พืชเพื่ออุตสาหกรรมพื้นบ้าน ตลอดจน
เป็นแหล่งสะสมพันธุกรรมพืช ทั้งไม้พื้นบ้านและไม้ที่นำเข้าจากแหล่งอื่นทั้งในและนอกประเทศ รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 600 ไร่
1.4 พื้นที่พัฒนาการปศุสัตว์ในตอนล่างของพื้นที่ที่ซึ่งอยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำที่ 7 ถูกจัดให้เป็นพื้นที่ใช้ในกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ เป็นการเลี้ยงสัตว์ในสภาพป่าโปร่ง เพื่อเพิ่มคุณค่าของป่า ทั้งหารูปแบบการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมกับสภาพป่าไม้ในภาคเหนือตอนบน ทั้งในแง่ของการผลิตอาหารและเพิ่มประสิทธิภาพของป่าในรูปของการเจริญเติบโตของไม้ป่า และการกระจายของลูกไม้ สัตว์ที่เลี้ยงส่วนใหญ่ คือ วัวนม นอกจากนี้ยังมี ไก่ เป็ด ห่าน และสุกร รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 70 ไร่
1.5 พื้นที่อ่างเก็บน้ำและพัฒนาการประมง อ่างเก็บน้ำในศูนย์ฯ มีทั้งหมด 7 อ่าง ประกอบด้วยอ่างใหญ่ 3 อ่าง ถูกสร้างมาเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ต่างๆ นอกจากนั้นใช้ในกิจกรรมการทดลองการ เลี้ยงปลาในอ่างเก็บน้ำ ตลอดจนศึกษาการจัดรูปบริหารแหล่งน้ำเพื่อการประมง โดยเฉพาะการจัดให้มีการบริหารจับปลาของชาวบ้านหมู่บ้านปางเรียงเรือ และยังเป็นที่พัมผ่อนหย่อนใจของประชาชนที่เข้ามาตกปลา รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 400 ไร่
2. ศูนย์สาขาที่ 1โครงการศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.หางดง จ.เชียงใหม่
3. ศูนย์สาขาที่ 2 โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ และ อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
4. ศูนย์สาขาที่ 3 โครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
5. ศูนย์สาขาที่ 4 โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
6. ศูนย์สาขาที่ 5 โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
6.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎรในเขต พื้นที่ภาคใต้ ทรงพบว่าพื้นที่จำนวนมาก
มีสภาพเป็นพรุ ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวและมีคุณภาพต่ำไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ขึ้น เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2524 เพื่อศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลอง และพัฒนาดินอินทรีย์ และ
ดินที่มีปัญหาอื่นๆ ในพื้นที่พรุ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทาด้านการเกษตรรวมทั้งแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนา ทั้งทางด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และการเกษตรอุตสาหกรรมที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ภาคใต้ เพื่อให้เป็นต้นแบบแห่งความสำเร็จให้พื้นที่อื่นๆ
พื้นที่ดำเนินการ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ระหว่างบ้านพิกุลทอง และบ้านโคกสยา ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ประกอบด้วยพื้นที่ดำเนินการ ดังนี้
1. พื้นที่บริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เนื้อที่ 1,740 ไร่ เป็นที่ตั้งอาคารสำนักงาน แปลงทดลองในที่ลุ่ม บนที่ดอนสวนยางเขาสำนัก และอ่างเก็บน้ำใกล้บ้าน
2 .พื้นที่พรุในจังหวัด เนื้อที่ 261,860 ไร่ แบ่งป่าพรุ 3 เขต คือ เขตสงวน , เขตอนุรักษ์ และเขตพัฒนา
3. พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ มีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ได้รับการส่งเสริมด้านการเกษตรและพัฒนาอาชีพให้สามารถ พึ่งตนเองได้
4. ศูนย์สาขา 4 สาขา คือ โครงการสวนยางตันหยง เนื้อที่ 15.8ไร่ , โครงการพัฒนาหมู่บ้านปีแนมูดอ เนื้อที่ 135 ไร่ ,
โครงการหมู่บ้านปศุสัตว์เกษตรมูโนะ เนื้อที่ 1,500 ไร่ , โครงการหมู่บ้านโคกอิฐ – โคกใน และบ้านยูโย เนื้อที่ 30,065 ไร่
5. พื้นที่ที่มีพระราชดำริให้ดำเนินการ
กรมการข้าว ได้ดำเนินงานด้านข้าว ในพื้นที่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 แห่ง
โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน
อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทรา
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
– ปรับปรุงบำรุงดินและปลูกปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) และไถกลบเมื่อปลายมีนาคม
– แปลงเรียนรู้การผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 เพื่อแปรรูปเป็นข้าวสาร พื้นที่จำนวน 1 ไร่
รูปภาพผลการดำเนินงาน
2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี
พื้นที่ดำเนินการ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
สนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อจัดทำแปลงสาธิต พื้นที่ 0.5 ไร่
รูปภาพผลการดำเนินงาน
3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครอบคลุม 33 หมู่บ้าน ในตำบลกระแจะ, ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม และตำบลรำพัน, ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ดำเนินการประมาณ 85,235 ไร่
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
– อบรมเกษตรกร
– สนับสนุนปัจจัยการผลิต (ข้าวพันธุ์ กข 93 และ ปทุมธานี 1) ให้กับเกษตรกรที่ร่วมโครงการฯ
ณ ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
– ติดตามแปลงเกษตรกร ที่ร่วมโครงการฯ ณ ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
รูปภาพผลการดำเนินงาน
4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร
5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่
ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านข้าว การติดตาม แนะนำ และขยายผล เกษตรกรจำนวน 20 ราย
รูปภาพผลการดำเนินงาน
6. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดาริ จังหวัดนราธิวาส
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
- แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง พันธุ์หอมกระดังงา 59 และข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงพันธุ์ซีบูกันตัง 5
– ข้าวไวต่อช่วงแสง/พันธุ์หอมกระดังงา 59 จำนวน 15 ไร่ (นาปี) ผลผลิต 1,050 กิโลกรัม
– ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง/พันธุ์ซีบูกันตัง 5 จำนวน 12 ไร่ (นาปี) ผลผลิต 1,230 กิโลกรัม
– ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง/พันธุ์ซีบูกันตัง 5 จำนวน 8 ไร่ (นาปรัง) อยู่ระหว่างดำเนินการ ขณะนี้ข้าวอยู่ในระยะออกรวง-ระยะน้ำนม - สนับสนุนปัจจัยการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวซีบูกันตัง 5 จำนวน 60 กิโลกรัม
รูปภาพผลการดำเนินงาน ปี 2566