21 พฤศจิกายน 2024

เกษตรโซไซตี้ , KasetSociety , ครบเครื่องเรื่องเกษตร

เกษตรโซไซตี้ , KasetSociety , ครบเครื่องเรื่องเกษตร

เที่ยวงาน “เพาะป่า เพาะชีวิต” 18 – 19 กรกฎาคม 2563 ณ.พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ

1 min read

พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จ.ปทุมธานี ชวนเที่ยวงาน “เพาะป่า เพาะชีวิต” ระหว่างวันที่ 18 – 19 กรกฎาคม 2563 เวลา 08.00 – 17.00 น. ผ่านนิทรรศการ ผักพื้นบ้าน สร้างภูมิต้านทาน ต้านโควิด อบรมวิชาของแผ่นดินและอบรมเชิงปฏิบัติการกว่า 10 หลักสูตร อิ่ม อร่อย ชม ช้อป สินค้าเกษตรอินทรีย์กว่า 100 ร้านค้า

นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ เปิดเผย ว่า “พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ เตรียมจัดงานเพาะป่า เพาะชีวิต เรียนรู้ศาสตร์พระราชา ผ่านการอบรมวิชาของแผ่นดินและการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยวิทยากรผู้ปฏิบัติจริงมาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกร ประชาชน และผู้สนใจ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เรียนรู้ผ่านนิทรรศการทั้งพิพิธภัณฑ์ในอาคาร

และพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง นอกจากนี้ผู้ที่มาร่วมงานยังเลือก ช้อปสินค้าเกษตรปลอดภัย ผลิตผลเกษตรดีมีคุณภาพ จากเกษตรกรเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ โดยตรงจากทั่วประเทศที่นำมาจำหน่ายในราคามิตรภาพ ระหว่างวันที่ 18 – 19 กรกฎาคม 2563 นี้ ที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ…”


ศาสตร์พระราชา วิชาของแผ่นดิน กว่า 10 หลักสูตรการเรียนรู้ อาทิ หลักสูตรสาระพัน พันธุ์ไม้แปลก โดยอาจารย์พร้อมพงษ์ สุพรรณ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.เชียงใหม่ หลักสูตรผักอินทรีย์วิถีคลองโยง อาจารย์ไพบูลย์ สวัสดีจุ้ย หลักสูตรสวนผัก 1 ไร่ รายได้ 6 แสน โดยอาจารย์พงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ Organic Farm จ.มหาสารคาม หลักสูตรการทำนาต้นทุนต่ำด้วยสารชีวภาพ โดยอาจารย์นพดล สว่างญาติ จากศูนย์ปราชญ์เกษตรช้างใหญ่ จ.พระนครศรีอยุธยา เรียนรู้พร้อมชมการปฏิบัติผ่านหลักสูตรที่น่าสนใจ

เช่น หลักสูตรการทำโดนัทผลไม้เพื่อสุขภาพ โดยอาจารย์สิทธิกฤติ หงส์ศรีจินดา วิสาหกิจชุมชนคีรี จ.สุพรรณบุรี หลักสูตรเทคนิคการขยายพันธุ์กระบองเพชร โดยอาจารย์ระยอง แก้วนิล ไม้ประดับท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา และอีกหลายหลักสูตร ลงทะเบียนเรียนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย


นิทรรศการผักพื้นบ้าน สร้างภูมิต้านทาน ต้านโควิด ในแต่ละปีนั้นประเทศไทยต้องนำเข้ายารักษาโรคจากต่างชาติปีละนับแสนล้านบาท และทางรอดอย่างยั่งยืนของเราจำเป็นต้องพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด เริ่มต้นจากการนำภูมิปัญญาไทยกลับคืนสู่วิถีชีวิต ส่งต่อองค์ความรู้การใช้สมุนไพรอย่างถูกต้องเพื่อเป็นองค์ความรู้พื้นฐานติดตัวคนไทยทุกคนให้รู้จักกิน รู้จักใช้ รู้จักอนุรักษ์และหวงแหน สู่การดูแลและพึ่งตนเองด้านสุขภาพ


นิทรรศการพิเศษ “จักสืบ จักสาน อัตลักษณ์ วัฒนธรรมเกษตร” นิทรรศการที่รวบรวมเครื่อง จักสานของเกษตรกรที่เคยมีการใช้งานมาจัดแสดง เพื่อเชื่อมโยงเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนผ่านเครื่องจักสาน ที่สืบทอด สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เข้าใจถึงที่มา และความสำคัญของเครื่องจักสาน อันเป็นอัตลักษณ์จิตวิญญาณแห่งวิถีวัฒนธรรมการเกษตรจากภูมิปัญญาบรรพบุรุษ ที่ควรคู่แก่การสืบสาน และอนุรักษ์สืบต่อไป


ชม 3 พิพิธภัณฑ์ในอาคาร เรียนรู้พระอัจฉริยภาพพระมหากษัตริย์ไทยด้านการเกษตรที่พิพิธภัณฑ์ ในหลวงรักเรา ตามรอยเจ้าฟ้านักอนุรักษ์ที่พิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม และตื่นตาตื่นใจกับการผจญภัย ในป่าจำลองเสมือนจริงเรียนรู้สมดุลธรรมชาติ สมดุลชีวิตภายในพิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร


ชม ช้อปสินค้าเกษตรปลอดภัยที่คัดสรรมาให้เลือกซื้อ สมุนไพรไทย เมล็ดพันธุ์ ต้นไม้นานาพันธุ์ ผักพื้นบ้าน ผลไม้ตามฤดูกาล สารพัดคุณค่าสารอาหาร ชิมอาหารพื้นบ้านคาวหวานทั้ง 4[ภาค ที่มากด้วยคุณภาพจากผู้ผลิต ราคาเป็นกันเอง จากพี่น้องเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ทั่วประเทศ


พาคนที่คุณรักมาเรียนรู้และปรับประยุกต์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสืบสาน รักษา ต่อยอด wisdom farm เดินชมบัวนานาสายพันธ์บนสะพานไม้ไผ่ เรียนรู้วิถีเกษตรไทย ที่บ้านเรือนไทย 4 ภาค ร่วมกิจกรรมการทำไข่เค็ม สนุกสนานกับการทำนาโยนกล้า พร้อมขอความร่วมมือ ทุกท่านปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด เพื่อทุกท่านจะได้เข้ามาท่องเที่ยว เรียนรู้อย่างปลอดภัย ที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ


สอบถามเพิ่มเติมได้ทางโทรศัพท์ 02-529-2212-13, 087-359-7171 พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ อยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลการุญเวช (นวนครเดิม) ริมถนนพหลโยธิน กม.46-48 จ.ปทุมธานี หรือทาง www.wisdomking.or.th Line ID:@wisdomkingfan ทาง Facebook : พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

More Stories

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.